คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สถาบันราชานุกูล (Rajanukul Institute Research Ethics Committee) หรือเรียกว่า “RI-REC” ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการด้านจริยธรรม ในการพิจารณาโครงการวิจัยที่ทำการศึกษาวิจัยหรือทดลองในมนุษย์ในสถาบันราชานุกูล ทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับสภาวิชาชีพในแต่ละสาขา พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด แนวทางสากลและหลักเกณฑ์อื่น ๆ ของกระทรวงสาธารณสุข
คณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สถาบันราชานุกูล ยึดถือหลักการสากล เกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัย ได้แก่
1. แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนแห่งชาติ ชมรมจริยธรรมการวิจัยในคนในประเทศไทย พ.ศ.2550
2. แนวทางปฏิบัติและประเด็นพิจารณาทางชีวจริยธรรมด้านการทำวิจัยทาง วิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ (แนวปฏิบัติการวิจัยทางพันธุกรรม แนวปฏิบัติการวิจัยด้านสเต็มเซลล์ในมนุษย์ แนวปฏิบัติการจัดทำข้อตกลงการใช้ตัวอย่างทางชีวภาพเพื่อการวิจัยระหว่างสถาบัน) พ.ศ.2545
3. หลักการแห่งคำประกาศเฮลซิงกิ (Declaration of Helsinki) ปี 2013
4. Committee of International Organization on Medical Science (CIOMS)
5. The Belmont Report
6. International Conference on Harmonization, Guidance on Good Clinical Practices (ICH GCP)
7. Operational Guidelines for Ethics Committees that Review Biomedical Research (WHO)
8. WHO & ICH Guidelines for Good Clinical Practice ทั้งนี้ต้องไม่ขัดต่อกฎหมายของประเทศ และกฎระเบียบอื่นๆ ในประเทศไทย
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนด้านสุขภาพจิตและจิตเวช กรมสุขภาพจิต
เอกสารมาตรฐานการดำเนินงาน (SOP) ประกอบไปด้วยเอกสารจำนวน 20 บท ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานจริยธรรมการวิจัยในมุษย์และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานฯ